เป้าหมาย (Understanding Goal) :

week9

เป้าหมาย : เข้าใจและสามารถบอก อธิบายเกี่ยวกับเงินหน่วยสตางค์ หน่วยบาท เลือกใช้เงินอย่างเหมาะสมและเปรียบเทียบค่าของตัวเลข (เงิน)หน่วยเดียวกันรวมทั้งสร้างและแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเงินได้



ตัวอย่างชิ้นงานและกิจกรรม










1 ความคิดเห็น:

  1. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์นี้เริ่มต้นกระบวนการโดยให้นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับหน่วยเงินไทยที่นักเรียนรู้จักว่ามีหน่วยอะไรบ้าง
    พี่โซ่ : ผมรู้จักเหรียญ 50 สตางค์ ยังไม่ถึงหนึ่งบาท
    พี่ออมสิน : มีเหรียญสลึงแต่ผมไม่รู้ว่ามีเท่าไร / พี่แพรวา : เหรียญสลึงมีค่า 25 สตางค์
    พี่ปัณ : 1 บาท มี 100 สตางค์
    พี่อองฟรอง : 4 สลึงรวมกันเป็น 1 บาท เพราะได้ 100 สตางค์ ฯลฯ หลังจากนั้นเราจึงแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการรวมและการแลกเงิน เช่น
    มีเงิน 5 บาท แลกเงินอะไรได้บ้าง
    พี่ใบตอง : แลกเหรียญบาทได้ 5 เหรียญ
    พี่ปลาย : เหรียญ 50 สตางได้ 10 เหรียญ >> เอา 5 x 2 = 10 เพราะเหรียญ 50 สตางค์ 2 เหรียญมีค่า 1 บาท
    พี่ปัณ : แลกเหรียญ สลึงได้ 20 เหรีนญ >>5 x 4=20 เพราะเหรียญสลึง 4 เหรียญ มีค่า 1 บาท / 5 บาทมีค่า 500 สตางค์ เอา 5 x 100 = 500
    หลังจากนั้นจึงให้นักเรียนสังเกตเงิน 1 สตางค์ (เงินจริง) พี่โซ่ บอกว่าตาผมบอกว่าแต่ก่อนลูกอมเม็ดละ 1 สตางค์ >>ครูครับเงินนี่ตั้งแต่ตาผมยังเด็กเลยครับผ่านมาตั้ง 87 ปีแล้ว
    เมื่อนักเรียนเห็นที่มาของหน่วยเงินบาทแล้วครูจึงให้นักเรียนทำกิจกรรมแลกเงิน และหาค่าของเงินทั้งหมดในใบงานที่ครูทำให้ นักเรียนสามารถแลกเงินเป็นทั้งเงินเหรียญและธนบัตร และเมื่อนักเรียนรู้ค่าของเงินแล้งครูจึงสร้างโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเงินและการใช้เงินให้นักเรียนแสดงวิธีคิดและนำมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อน หลังจากนั้นจึงให้นักเรียนสร้างโจทย์ปัญหาและแกโจทย์ปัญหาของตนเอง ซึ่งเมื่อนำมาแลกเปลี่ยนนักเรียนมีวิธีคิดที่หลากหลายในการได้มาซึ่งคำตอบ ผ่านการแชร์ การแลกเปลี่ยนกับเพื่อน โดยครูเป็นผู้กระตุ้นโจทย์ให้

    ตอบลบ