เป้าหมาย (Understanding Goal) :

week5

 เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถคาดคะเน เปรียบเทียบ บอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัม กรัม ขีด และมิลลิกรัมได้ เลือกใช้เครื่องมือการชั่งอย่างเหมาะสม สร้างและแก้โจทย์ปัญหาการชั่งได้ด้วยตนเอง นำสิ่งที่เรียนรู้ไปปรับใช้ในการเรียนรู้อื่นๆอย่างเหมาะสม






ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน

คาดคะเน เปรียบเทียบและอ่านน้ำหนัก









โจทย์ปัญหาการชั่ง





 นำไปใช้ / ทำเค้กกล้วยหอม




1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เรียนรู้การชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม กรัม ขีด กิโลกรัม ครูเริ่มกระบวนการเรียนรู้โดยการให้นักเรียนคาดคะเนน้ำหนักสิ่งของว่าสิ่งใดน่าจะมีน้ำหนักมากน้อยต่างกัน แล้วจึงให้นักเรียนชั่งสิ่งของต่างๆที่มีน้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัมเพื่อฝึกอ่านน้ำหนัก นักเรียนสามารถอ่านน้ำหนักสิ่งของต่างๆเป็นกิโลกรัม เป็นขีด เป็นกรัมได้ เมื่อนักเรียนอ่านและชั่งได้แล้วครูจึงกระตุ้นด้วยโจทย์การชั่ง นักเรียนส่วนใหญ่สามารถบวก ลบ และเทียบเคียงหน่วยการชั่งได้ (ในส่วนของนักเรียนที่ยังอ่านหน่วยการชั่งยังไม่คล่องนั้น ครูจะช่วยพัฒนาต่อไป) ระหว่างสัปดาห์มีการแลกเปลี่ยนกันว่าอะไรที่สามารถชั่งได้ ชั่งด้วยตาชั่งอะไร นักเรียนสามารถเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นได้เช่น พี่ออย : น้ำชั่งไม่ได้ เราต้องตวงเป็นลิตร พี่แก้ม พี่โอเปิ้ล พี่แพรวา: ความยาวก็ชั่งไม่ได้เพราะเป็นระยะทาง เป็นกิโลเมตรไม่ใช่กิโลกรัม ,พี่โซ่ : ไข่ขายเป็นแผงชั่งไม่ได้ ,พี่อองฟรอง พี่ออมสิน : เราชั่งของที่หนักๆ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง รถบรรทุกของโดยใช้ตาชั่งที่เขาทำให้รถชั่งได้ ฯลฯ นักเรียนสามารถบอกน้ำหนักสิ่งของเป็นหน่วยตัน (1000กิโลกรัมได้) ว่าเราใช้ตาชั่งเล็กไม่ได้ หลังจากนักเรียนเรียนรู้การชั่ง เครื่องชั่ง หน่วยการชั่งแล้วจึงนำสิ่งที่เรียนรู้มาใช้ผ่านการแก้โจทย์ปัญหาการชั่ง และนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ผ่านการทำเค้กกล้วยหอม ที่นักเรียนได้เป็นผู้ชั่ง ตวงด้วยตนเอง เช่น "เราต้องการน้ำหนักแป้งเค้ก 200 กรัม ไม่รวมภาชนะ เราจะทำอย่างไร" นักเรียนสามารถหาน้ำภาชนะและน้ำหนักของแป้งได้ผ่านการชั่ง และนำไปบวก หรือลบออกจนได้น้ำหนักที่ต้องการ สัปดาห์นี้นักเรียนสนุกกับการทำกิจกรรมและสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ รับผิดชอบต่อสิ่งที่รับมอบหมาย (เตรียมอุปกรณ์ / วัตถุดิบ)

    ตอบลบ